รายละเอียดบทคัดย่อ


กนก ผลารักษ์ และ ประพาส นวนสำลี. 2529. ผลกระทบของการประมงต่อระบบการทำฟาร์ม: กรณีตัวอย่างบ้านหินลาด จังหวัดขอนแก่น.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2529 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.317-335.

บทคัดย่อ

         ในอดีตและปัจจุบัน ได้มีความพยายามที่จะผสมผสานการประมงน้ำจืด โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาเข้ากับกิจกรรมปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ โดยหวังว่าจะก่อให้เกิดผลผลิตรวมสูงขึ้น และลดอัตราการเสี่ยง พร้อมกับเพิ่มเสถียรภาพในอาชีพเกษตรมากขึ้น จากรายงานที่ปรากฏและข่าวที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชนต่าง ๆ จะพบว่าเกิดความสำเร็จมากมายในการผสมผสานกิจกรรมเลี้ยงปลาเข้ากับกิจกรรมเกษตรอื่น ๆ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรที่มีกิจการใหญ่ มีการลงทุนมาก และเป็นกิจกรรมเพื่อเป็นการค้าเป็นหลัก ส่วนเกษตรกรรายย่อยในชนบทนั้นมีรายงานความสำเร็จไม่มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเป็น 'รายย่อย' และอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะ มีผู้ประสพผลสำเร็จ ' น้อยราย 'จึงไม่เป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั้งหลาย อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า เกษตรกรรายย่อยในชนบทดำเนินกิจการฟาร์มแบบผสมผสานมาเป็นเวลาช้านานและได้ผลดีด้วย หากแต่เป็นการเกษตรแบบผสมผสานตามประเพณีนิยมที่ได้ถ่ายทอดกันเรื่อยมา อาทิ การขุดบ่อหรือกั้นฝายไว้สำหรับดักปลาที่มากับน้ำในฤดูฝน ซึ่งทำให้ได้ปลาจำนวนหนึ่งเก็บกักไว้บริโภคพร้อม ๆ กับการกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับให้สัตว์ เช่น วัว ควาย กิน และหรือไว้สำหรับปลูกพืชผักสวนครัว แช่ปอ รวมไปถึงเก็บกักน้ำไว้เป็นหลักประกันสำหรับตกข้าวในกรณีฝนมาช้าหรือฝนขาดช่วง เป็นต้น อันเนื่องมาจากการเป็นเกษตรกรรมแบบผสมผสานตามประสบการณ์หรือประเพณีนิยมนี้เอง ที่ทำให้มีข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมน้อย ขาดการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้สูญเสียทรัพย์ยากรบางส่วนไปอย่างน่าเสียดาย โครงการวิจัยระบบการทำฟาร์ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนหนึ่งได้ศึกษาสภาพการเลี้ยงปลาตามแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ฝายและบ่อ เป็นต้น โดยจำกัดเฉพาะเกษตรกรรายย่อยในเขตเกษตรน้ำฝนภาคอีสาน เพื่อหาวิธีการเหมาะสมในการพัฒนาระบบผสมผสานในกิจกรรมเลี้ยงปลาเข้ากับกิจกรรมเกษตรอื่น ๆ สำหรับส่วนที่จะรายงานผลการศึกษาต่อไปนี้ เป็นส่วนที่ศึกษาเฉพาะกรณีตัวอย่างของเกษตรกรบ้านหินลาด อำเภอเมืองทำอยู่เดิม เพื่อดูว่าจะมีผลกระทบต่อระบบเดิมอย่างไร ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม อนึ่งแม้ว่าการศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาไปสรุปใช้ในที่ใดได้ก็ตาม แต่การศึกษานี้ลึกซึ้งลงไปในรายละเอียดทุกแง่ทุกมุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับด้านสังคม จะเป็นอุทาหรณ์ที่มีคุณค่าสำหรับการปรับปรุงและส่งเสริมงานด้านนี้ต่อไปเป็นอย่างมาก