รายละเอียดบทคัดย่อ


ปัญญา ปุลิเวคินทร์. 2544. ประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 1 :ระบบเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากรและพัฒนาองค์กรชุมชนอย่างยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2543 ณ โรงแรมหลุยส์ แทเวิร์น หลักสี่ กรุงเทพฯ.  น.181-189.

บทคัดย่อ

         รายงานนี้เสนอประสบการณ์ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตรผสมผสานในภาคตะวันออกเแยงเหนือของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ได้รับความช่วยเหลือจากรับบาลเบลเยี่ยม โครงการนี้ดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2537- 30 กันยายน 2541 และเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว ธ.ก.ส. ยังได้ดำเนินการต่อภายใต้ชื่อ 'ศูนยืประสานงานโครงการเกษตรผสมผสาน' การดำเนินงานของโครงการในระยะแรกเน้นการสนับสนุนทั้งด้านเงินทุนและวิชาการโดยอาศัความร่วมมือจาหหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ก่อนที่เกษตรจะได้รับเงินทุนไปดำเนินการจะมีการฝึกอบรมให้เกษตรกรถึง 5 หลักสูตร หลักสุตรแรกให้เกษตรกรได้รู้จักว่า 'เกษตรผสมผสาน' คืออะไร มีรูปแบบเป็นอย่างไร จะลดค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงได้อย่างไร รวมทั้งมีการพาออกไปทัศนศึกษาให้เห็นของจริง และให้เกษตรกได้วางแผนการปรับปรุงฟาร์มด้วยความคิดของตนเอง แต่จะมีการประเมินโดยฝ่ายวิชาการโดยปรับแผนร่วมกับเกษตรกร การฝึกอบรมอีก 4 หลักสูตรเป็นเรื่องของเทคนิคการปฏิบัติ ทั้งในด้านการเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์และการปลูกพืช ในระบบเกษตรผสมผสาน หลังจากนั้น เกาตรกรจึงเริ่มดำเนินการตามแผน ผลการดำเนินงานในระยะนี้แม้จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถรักษาเกษตรกรดีๆไว้ได้ ดครงการจึงได้แสวงหาแนวทงใหม่ในการดำเนินงาน โดยศึกษาจากกลุ่มต่างๆที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน และพบว่ากลุ่มต่างๆที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้น ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลักในการดำเนินการ ในระยะหลังโครงการจึงได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์และรูปแบบการดำเนินงานโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรกรและการสร้างเครือข่ายร่วมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีการปรับเปลี่ยนเทคนิคการถ่ายทอดอยู่ตลอดเวลา ปรากฏว่าได้ผลอย่างที่คาดไม่ถึง เกษตรกรสามารถคิดเอง ทำเอง และขยายผลต่อยอดกิจกรรมต่างๆ ของตนเองได้ ผลการดำเนินงานในระยะหลังแสดงให้เห็นว่ามีหนทางที่จะรักษาเกษตรกรรายดีๆไว้ให้อยู่ได้ และยังสามารถขยายวงไปฟื้นฟูเกษตรกรรายอื่นๆได้อีกด้วย ประสบการณ์ของโครงการชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนการดำเนินงานในการพัฒนาการเกษตรของครัวเรือนเกษตรกร