รายละเอียดบทคัดย่อ


 . กระบวนการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพพริกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.539-553.

บทคัดย่อ

         พริกภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประสบปัญหาโรครากปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอย(Meloidogyne incognita) โรคต้นเน่า (Phytophthora parasitica Dastur)โรคแอนแทรคโนส(Colletotrichum sp.) และการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณภาพและผลผลิตลดลง จึงทดสอบเทคโนโลยีการแก้ปัญหาโรครากปม คือการเตรียมกล้าที่ปราศจากตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยรากปมพริกโดยการเผาแปลงเพาะกล้า การวางถาดเพาะกล้าให้สูงกว่าระดับผิวดินหรือเผาแปลงก่อนวางถาดเพาะชำด้วยแกลบ และการเตรียมแปลงปลูกด้วยการถอนต้นพริกออกนอกแปลงแล้วเผาทิ้ง จากนั้นหว่านปอเทืองอัตรา5 กก./ไร่ ไถกลบปอเทืองเมื่อออกดอก ก่อนปลูกพริก 2 สัปดาห์ ร่วมกับการผลิตพริกแบบผสมผสานตั้งแต่การเตรียมเมล็ดพันธุ์ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การป้องกันกำจัดศัตรูพริกแบบผสมผสาน ที่จังหวัดอุบลราชธานีในปี 2551-2552 พบว่าผลผลิตพริกสูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 19.8 พบดัชนีการเกิดโรครากปมเพียง 0.8ที่จังหวัดยโสธรการผลิตฤดูแล้งปี 2553 ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 37.2 ไม่พบโรครากปมการมุงหลังคาพลาสติค ช่วยลดโรคต้นเน่า และต้นกล้าแข็งแรง การเจริญเติบโตดีกว่ากล้ามาจากกลางแจ้งร้อยละ 27.5 ส่วนพริกฤดูฝนจังหวัดนครราชสีมา ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมผสานปี 2551-2552พริกให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ24.8สามารถลดโรคแอนแทรคโนสได้ร้อยละ 20พริกสดมีคุณภาพดีกว่าวิธีเกษตรกรร้อยละ 14 ไม่พบสารพิษตกค้างร้อยละ 73 จึงสามารถเชื่อมโยงกับตลาดพริกคุณภาพได้โดยผ่านผู้ประกอบการ (contract farming) กลุ่มเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดนครราชสีมาสามารถส่งพริกสดไปยังต่างประเทศได้ 30 และ 60 ตันในปี 2552 และ 2553 ตามลำดับ