ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร (ศวทก.) หรือเดิมชื่อ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2511 โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าของโครงการ และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2512 คณะรัฐมนตรีได้ มีมติให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าของโครงการแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศวทก. มีการดำเนินงานแบบสหสาขาวิชาโดยความร่วมมือของบุคลากรของศูนย์ร่วมกับคณาจารย์จากภาควิชาต่าง ๆ ในคณะเกษตรศาสตร์ และใช้แนวทางเชิงระบบในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเกษตร พัฒนาองค์ ความรู้และวิธีการวิเคราะห์ปัญหา การเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีหน่วยวิจัยหลัก 3 หน่วยได้แก่ หน่วยวิจัยระบบเกษตรยั่งยืน หน่วยวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตร และหน่วยวิจัยธุรกิจเกษตรและการจัดการ นอกจากนี้ยังร่วมกันจัดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาชาวิชาเกษตรศาสตร์เชิงระบบ (Agricultural Systems) ขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และต่อมาเปลี่ยนเป็นหลักสูตรการจัดการระบบเกษตรนานาชาติ (Agricultural Systems Management) เพื่อสอนนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติ ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ ศูนย์วิจัยได้ให้ คำปรึกษาและจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เชี่ยวชาญแก่นักวิชาการ นักพัฒนา นักส่งเสริม และเกษตรกรทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
วิสัยทัศน์
เป็นผู้นำภูมิภาคด้านการวิจัยเกษตรศาสตร์เชิงระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรเกษตรสู่ความมั่นคง และยั่งยืนในการดำรงชีพชุมชนและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจ
- วิจัยเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและเสนอแนะการจัดการทรัพยากรเกษตร
- บริการทางวิชาการและเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- สนับสนุนการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาการจัดการระบบเกษตร
แนวทางการพัฒนา
ด้านการเรียนการสอน
- การรับนักศึกษาให้มีความสอดคล้องกับงานวิจัย
- สร้างโครงการเชิญผู้มีประสบการณ์ (ใน/นอกประเทศ) มาร่วมให้ความรู้การในการเรียนสอน
- ปรับปรุงหลักสูตรให้น่าสนใจรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน
- หาแนวทางจัดการทรัพยากรร่วมกับหลักสูตรอื่น
- สร้างหลักสูตรฯ ให้มีสอดคล้องกับงานวิจัย
- หลักสูตรเชิงรุกให้มากขึ้น โดยให้มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
- ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย/สอดคล้องกับปัจจุบันยิ่งขึ้น โดยเพิ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก ช่วยปรับปรุงหลักสูตร
- แสวงหาทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาคนไทย
- เตรียมองค์กรและกระบวนการทำงานเพื่อรองรับการทำงานกับต่างประเทศ
ด้านการวิจัย
- สร้างทีมงานวิจัย และกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดในด้านงานวิจัยเชิงระบบเพื่อขอทุนวิจัย
- สร้างโครงการเชิญผู้มีประสบการณ์ (ใน/นอกประเทศ) มาร่วมงานวิจัยและการเรียนการสอน
- ขยายเครือข่ายวิจัยและแสวงหาแหล่งทุน
- ส่งเสริมให้อาจารย์ นักวิชาการ มีความเป็นผู้นำทางวิชาการด้าน “ระบบเกษตร” อย่างเป็นรูปธรรม
- มีแผนการจัดการให้สอดคล้องกับการย้ายสถานีท่ามกลางทรัพยากรบุคคลที่ลดลง
- มีกระบวนการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่โดยใช้ระบบ mentor
- มีส่วนร่วมในเครือข่ายงานวิจัยต่างๆ เพื่อหาโอกาสขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย
- ทำงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อเพิ่มการตีพิมพ์ระดับชาติและนานาชาติ
- ส่งเสริมสนับสนุนให้นักวิจัยเข้าร่วมในเครือข่ายวิชาการระดับชาติและนานาชาติเพื่อหาทุนสนับสนุนงานวิจัยและผลิตผลงานตีพิมพ์
- สร้างโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้
- ปรับให้ไปในทางเดียวกัน และสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของศูนย์ฯ และสร้างกลุ่มวิจัยเพื่อพัฒนาโครงการวิจัย
ด้านการบริการวิชาการ
- เชื่อมโยงงานวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษากับการบริการวิชาการของสถานี
- พัฒนาสถานีวิจัยให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของนักศึกษา/กลุ่มเกษตรกร/หน่วยงานราชการ
- ประชาสัมพันธ์การย้ายสถานีให้กับชุมชนและเครือข่ายผู้รับบริการ
- จัดหาสถานที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการชั่วคราวในระหว่างดำเนินการย้ายสถานี
- พัฒนาระบบสนับสนุนและวางแผนการให้บริการวิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
- ให้มีการประเมินผลการบริการวิชาการอย่างสมบูรณ์และเป็นระบบ